อ้อยแดง : แก้ร้อนในกระหายน้ำ

รูปภาพ : อ้อยแดง : แก้ร้อนในกระหายน้ำ
ชื่ออื่น : อ้อยดำ อ้อยขม กะที ฯลฯ นํ้าอ้อยมีรสหวาน คุณสมบัติเย็น แก้ร้อนในกระหายนํ้า แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้พิษเหล้าเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการคอแห้งกระหายนํ้า ไข้สูง ปัสสาวะน้อยและเหลือง อุจจาระแข็ง อาเจียน เป็นต้น

สรรพคุณ
1.ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ
2.ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส
3.น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร

ตำรับยา
1. อาการไอขณะออกหัด : ทั้งต้น (ทั้งเปลือก ให้ตัดส่วนข้อทิ้ง) และหัวแห้ว จำนวนพอสมควร ต้มดื่มต่างนํ้าชา
2. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ : นํ้าอ้อยคั้น นํ้าเง่าบัวคั้น อย่างละ 30 มิลลิกรัม ผสมกัน กินวันละ 2 ครั้ง
3. สตรีมีครรภ์อาเจียน : นํ้าอ้อยคั้น 1 แก้ว ใส่นํ้าขิง 1 ช้อนชา ดื่มวันละ 2-3 ครั้ง
4. คอแห้งกระหายนํ้า : ให้ดื่มนํ้าอ้อยบ่อยๆ หรือจะใส่นํ้าขิงลงไป เล็กน้อยก็ได้
5. กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง : นํ้าอ้อยคั้น 1 แก้ว ใส่นํ้าขิงลงไปเล็กน้อยวันละ 2-3 แก้ว
6. ท้องผูก : นํ้าอ้อยและนํ้าผึ้งปริมาณเท่ากัน ดื่มก่อนนอน
7. ทอลซิลอักเสบชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง : ใช้อ้อย หัวแห้ว รากหญ้าคาจำนวนพอประมาณ ต้มดื่มต่างนํ้าชา

(เครดิตภาพ : รักคุณแฟน, เว็บไทยเกษตรศาสตร์, สวนชะอุ่มผล, frame-hasegawa)

** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **

ชื่ออื่น : อ้อยดำ อ้อยขม กะที ฯลฯ นํ้าอ้อยมีรสหวาน คุณสมบัติเย็น แก้ร้อนในกระหายนํ้า แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้พิษเหล้าเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการคอแห้งกระหายนํ้า ไข้สูง ปัสสาวะน้อยและเหลือง อุจจาระแข็ง อาเจียน เป็นต้น

สรรพคุณ
1.ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ
2.ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส
3.น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร

ตำรับยา
1. อาการไอขณะออกหัด : ทั้งต้น (ทั้งเปลือก ให้ตัดส่วนข้อทิ้ง) และหัวแห้ว จำนวนพอสมควร ต้มดื่มต่างนํ้าชา
2. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ : นํ้าอ้อยคั้น นํ้าเง่าบัวคั้น อย่างละ 30 มิลลิกรัม ผสมกัน กินวันละ 2 ครั้ง
3. สตรีมีครรภ์อาเจียน : นํ้าอ้อยคั้น 1 แก้ว ใส่นํ้าขิง 1 ช้อนชา ดื่มวันละ 2-3 ครั้ง
4. คอแห้งกระหายนํ้า : ให้ดื่มนํ้าอ้อยบ่อยๆ หรือจะใส่นํ้าขิงลงไป เล็กน้อยก็ได้
5. กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง : นํ้าอ้อยคั้น 1 แก้ว ใส่นํ้าขิงลงไปเล็กน้อยวันละ 2-3 แก้ว
6. ท้องผูก : นํ้าอ้อยและนํ้าผึ้งปริมาณเท่ากัน ดื่มก่อนนอน
7. ทอลซิลอักเสบชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง : ใช้อ้อย หัวแห้ว รากหญ้าคาจำนวนพอประมาณ ต้มดื่มต่างนํ้าชา

ความคิดเห็น